เกิด : 30 กรกฎาคม 2482
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2557
การศึกษา :
2497 - 2506 มหาวิทยาลัยศิลปากร
2508 - Rijksacademie Vogr Beeldend, Kunsten, Amterdam, The Netherland.
นิทรรศการกลุ่ม :
2506 - Farewell Exhibition วังสวนผักกาด
2517-2519 - The Dutch National Collection Single-Plural and Movement, Frans Hals Museum, Haarlem, The Netherlands. 2517-2523 - Universal Moving Artist Stedeligk Museum Amsterdam, The Netherlands
2523 - ไม่มีชื่อ หอศิลปแห่งชาติ
2526 - Societe International Des Beaux Arts, Grand Palais, Paris, France.
2528 - ไม่มีชื่อ หอศิลปพีระศรี
2538 - The Last Rice Field of Siam หอศิลป คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2501 - 2539 - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ หอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชวลิตเริ่มต้นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยมีพื้นฐานจากการเขียนภาพในลักษณะรูปธรรม และค่อยๆ คลี่คลายรูปแบบมาเป็นลักษณะนามธรรม รูปแบบนามธรรมในระยะแรกเกิดจากแรงบันดาลใจในลวดลายไทย และวิวัฒนาการเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นการใช้รูปแบบเรขาคณิตเป็นสื่อแทนค่าความคิด ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกของตนเองโดยตรง
องค์ประกอบสำคัญในงานของชวลิต ได้แก่ เส้น สี และรูปทรง โดยชวลิตจะใช้เส้นตรงเป็นเส้นหลักในการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ และงานวาดเส้น ซึ่งแต่ละเส้นที่ชวลิตได้สร้างขึ้นจะถูกบรรจง ขีดลากโดยใช้ความคิดตลอดทั้งการใช้สมาธิอันแน่วแน่ผสานเข้ากับจิตที่สงบ ทำให้เส้นที่เกิดขึ้นแต่ละเส้นมีการจัดวางของ จังหวะ และทิศทาง เมื่อแต่ละเส้นถูกลากตัดกันจึงเกิดการทับซ้อน และแสดงมิติที่ตื้นลึก ส่งผลต่อสายตาของผู้ชมงานศิลปะอย่างมีระบบ แสดงถึงความละเอียดอ่อนและความประณีตบรรจงของศิลปินผู้รังสรรค์งาน ด้านการใช้สี ชวลิตจะไล่น้ำหนักของสีไปทีละน้อย จากสีร้อนไปหาสีเย็น หรือจากสีที่เย็นไล่ไปหาสีที่ร้อนตามวรรณะของสีในภาพ บางครั้งจะได้สีใหม่ที่เกิดจากการทับซ้อนกันของสีที่แตกต่าง ทำให้ผู้ชมงานได้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของสีต่างๆ ด้านการใช้รูปทรง
ในงานของชวลิตจะใช้รูปทรงเรขาคณิตทั้งหมด รูปทรงหนึ่งจะทับซ้อนอยู่บนอีกรูปทรงหนึ่ง ทำให้เกิดความตื้นลึกของภาพ โดยงานภาพพิมพ์และงานวาดเส้นในยุคหลังๆ ของชวลิต จะเป็นรูปทรงที่มีอิสระมากขึ้น “แม้ว่า อ. ชวลิต จะใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปเป็นเวลานานหลายปี แต่ความเป็นคนตะวันออกที่มีอยู่ในสายเลือดของเขาก็ยังประจักษ์ชัดอยู่ในลักษณะของงานศิลปะที่มีความเรียบง่าย สงบ และว่างเปล่า บ่งบอกถึงปรัชญาทางตะวันออกที่ทรงคุณค่า ปรากฏอยู่แก่สายตาของผู้ที่ได้ชมศิลปะ”